ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านหลุบโพธิ์ เดิมชื่อ “โรงเรียนประชาบาลตำบลตลาดแร้ง 2 วัดหลุบโพธิ์” ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2475 บนเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา โดยมี นายสุภาว์ ขวัญบุญจันทร์ ศึกษาธิการ อำเภอเมืองชัยภูมิ เป็นประธานในพิธีเปิด มีครูคนแรก คือ นายโสม ชีวเสรี และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรกทางราชการสั่งให้ย้ายนักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในบ้านหลุบโพธิ์แต่ไปเรียนที่โรงเรียนบ้านกุดไผ่ขณะนั้นมาเรียนที่ศาลาวัดบ้านหลุบโพธิ์ เป็นที่จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4
ต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 นายแก้ว ฐานวิเศษ เป็นครูใหญ่ เปลี่ยนแปลงจากอำเภอเมืองชัยภูมิ มาเป็นกิ่งอำเภอบ้านเขว้า และยังใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่เล่าเรียนเช่นเดิม
ปี พ.ศ. 2499 นายบุญมา ชัยเนตร เป็นครูใหญ่ นักเรียนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 27,000 บาท ชาวบ้านบริจาคสมทบ 25,090 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ. (พิเศษ) มีมุขกลางเป็นอาคารไม้ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2502 เปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็น “โรงเรียนบ้านหลุบโพธิ์ (คุรุราษฎร์นิมิต)”
เมื่อปี พ.ศ. 2510 ได้รับการจัดสรรเงิน 75,000 บาท ราษฎรบ้านหลุบโพธิ์บริจาคเพิ่มอีก 25,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ฉ. ขนาด 3 ห้องเรียนใช้เป็นห้องเรียนได้ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
ปี พ.ศ. 2514 โรงเรียนได้ขยายการศึกษาจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 เป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 7 มีนักเรียน 140 คน ครู 7 คน ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 140,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ซ. ใต้ถุนเตี้ย ห้องเรียนมีบ้านพักครู
จากงบประมาณของทางราชการ 25,000 บาท บ้านพักแบบกรมสามัญ 2 ห้องนอน ได้สร้างห้องประชุม 1 หลัง ราคา 54,770 บาท โดยงบประมาณของสภาตำบลและชาวบ้าน (ขณะนี้รื้อถอนแล้ว)
ปี พ.ศ. 2518 ได้งบประมาณสร้างโรงฝึกงาน จำนวน 40,000 บาท และยังได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.601/29 ขนาด 4 ที่ เรือนเพาะชำ แบบ พ.1 วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ได้รับอนุมัติ ชื่อ“โรงเรียนชุมชนหลุบโพธิ์” (ปัจจุบันส้วมได้ปรับปรุงเป็นสหกรณ์ร้านค้า เรือนเพาะชำได้รื้อถอนแล้ว)
ปี พ.ศ. 2519 ชนะเลิศโรงเรียนดีเด่นอำเภอบ้านเขว้า และนายบุญมา ชัยเนตร เป็นครูใหญ่ดีเด่นของจังหวัดชัยภูมิ
ปี พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณก่อสร้าง อาคารเรียนแบบ สปช.105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน งบประมาณ 1,640,000 บาท พ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณต่อเติมชั้นล่าง 4 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2544 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบ สปช.601/26 จำนวน 4 ที่ เป็นเงิน 90,900 บาท
ปี พ.ศ. 2545 ต่อเติมโรงครัว งบประมาณ 35,000 บาท สร้างสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน งบประมาณ 17,000 บาท สร้างโรงอาหาร งบประมาณ 29,000 บาท
ปี พ.ศ. 2546 สร้างศาลาพักผ่อน งบประมาณ 14,000 บาท พระครูสุวิมลพุทธิสาร มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ 6 เครื่อง โต๊ะคอมพิวเตอร์ 7 ตัว เครื่องปริ้น 1 ตัว เป็นเงิน 72,000 บาท รับผ้าป่าการศึกษาจาก นางรัตนา สุวรรณเทพ และคณะ เป็นเงิน 268,260 บาท
ปี พ.ศ. 2547 ต่อเติมโรงอาหาร 3 ห้อง โรงครัว ศาลาพักผ่อน รั้วคอนกรีตเสริมเหล็กทางทิศตะวันตก คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง เป็นเงิน 134,720 บาท
ปี พ.ศ. 2548 ซื้อศาลาพักผ่อน 3 หลัง เป็นเงิน 48,000 บาท ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในบริเวณโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน เป็นเงิน 40,000 บาท
ปี พ.ศ. 2549 ซื้อศาลาพักผ่อน 2 หลัง เป็นเงิน 27,000 บาท ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในบริเวณโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน เป็นเงิน 20,000 บาท
ปี พ.ศ. 2550 จัดทำอ่างเลี้ยงปลาดุกเพื่อสนับสนุนอาหารกลางวันงบประมาณจาก อบต.ตลาดแร้ง งบประมาณ 20,000 บาท มุงที่บังแดดหน้าอาคารเรียน เป็นเงิน 30,000 บาท
ปี พ.ศ. 2552 จัดทำป้ายโรงเรียนบ้านหลุบโพธิ์ ด้านทิศใต้ ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากผ้าป่าศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านหลุบโพธิ์ จำนวน 100,000 บาท และได้รับสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน และด้านกีฬา จากศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหา
ปีงบประมาณ 2561 ได้รับการจัดสรร สร้างส้วม สพฐ. 4 ที่นั่ง งบประมาณ 389,000 บาท วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561 ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมไฟฟ้า งบประมาณ 443,000 บาท
ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านหลุบโพธิ์ มีครูและบุคลากรทางการศึกษา 6 คน (ไปช่วยราชการ 1 คน) ครูอัตราจ้าง 2 คน ครูธุรการ 1 คน (ทำหน้าที่ 2 โรงเรียน คือ บ้านโนนเปลือย กับ บ้านหลุบโพธิ์) เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน จำนวน 45 คน
ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
สีประจำโรงเรียน
น้ำเงิน เหลือง
ปรัชญาโรงเรียน
ปัญญา คือ แสงสว่างที่ส่องทางสู่อนาคตที่สดใส
คำขวัญ
เรียนดี มีวินัย ใส่ใจคุณธรรม น้อมนำความพอเพียง
อัตลักษณ์
คุณธรรมนำชีวิต มีจิตสาธารณะ
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านหลุบโพธิ์ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสานความร่วมมือกับชุมชน เพิ่มพูนความรู้และทักษะชีวิตตามหลักแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1.พัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
2.ประสานความร่วมมือกับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษา
3.พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรมนำประชาธิปไตย โดยใช้กระบวนการลูกเสือฝึกให้ผู้เรียนมีวินัยในตนเอง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
4.บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
5.พัฒนาภูมิทัศน์ของโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน